ประเด็นสำคัญ:
การจัดตำแหน่ง Circadian Rhythm — การปรับเวลาการให้อาหารให้สอดคล้องกับนาฬิกาชีวภาพ — ร่วมกับการจำกัดแคลอรี่จะช่วยยืดอายุชัยให้ยาวนานกว่าการจำกัดแคลอรี่เพียงอย่างเดียว
การอดอาหารแบบ 12 ชั่วโมง (เทียบกับ 22 ชั่วโมง) เพียงพอที่จะยืดอายุขัยได้
การจัดตำแหน่ง Circadian และการจำกัดแคลอรี่ ช่วยฟื้นฟูการเปลี่ยนแปลงของยีนที่เกี่ยวข้องกับอายุได้มากกว่าการจำกัดแคลอรี่เพียงอย่างเดียว
การจำกัดแคลอรี่ (Caloric Resreiction: CR) — การลดการบริโภคอาหาร โดยไม่ขาดสารอาหาร หรืออดอาหาร — นี่อาจจะเป็นยาที่ช่วยยืดอายุขัยได้ ผู้ที่รักสุขภาพจำนวนมาก นิยมใช้การจำกัดแคลอรี่โดยการกินอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding) — โดยรับประทานอาหารภายในกรอบเวลาที่กำหนด จากการศึกษาสมัยใหม่เผยให้เห็นว่า ถ้าพูดถึงการยืดอายุขัยและป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับวัยแล้ว การกินอาหารแบบจำกัดเวลา อาจจะเป็นแนวทางที่น่าสนใจ
ตามที่รายงานในวารสาร Science, Acosta-Rodriguez และเพื่อนร่วมงาน จาก University of Texas แสดงให้เห็นว่า การลดแคลอรี่ลง 30% ช่วยยืดอายุขัยของหนูได้ 10% (R)
อย่างไรก็ตาม หากช่วงการกินอาหารสอดคล้องกับ นาฬิกาชีวภาพ (Circadian rhythms) (ตื่น/นอน) จะช่วยเพิ่มอายุขัย 35% ผลลัพธ์ที่ได้เพิ่มมากขึ้นจากการจัดตำแหน่งนาฬิกาชีวภาพ ได้แก่ การปรับปรุงระดับฮอร์โมน เช่น อินซูลินและเลปติน และการป้องกันการเปลี่ยนแปลงของยีน ที่เกี่ยวข้องกับอายุ รวมถึงยีนที่สัมพันธ์การอักเสบ การค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่า การจัดตำแหน่งนาฬิกาชีวภาพ (Circadian alignment) ช่วยเพิ่มคุณประโยชน์ของการจำกัดแคลอรี่ให้มากข้น
การจัดตำแหน่งนาฬิกาชีวภาพช่วยเพิ่มอายุขัย
Acosta-Rodriguez และเพื่อนร่วมงานพบว่า หนูที่ถูกจำกัดแคลอรี่ (การขาดแคลอรี่ 30%) ในเวลากลางคืน พวกมันจะมีอายุยืนยาวกว่าการได้รับอาหารในตอนกลางวัน เนื่องจากหนูออกหากินเวลากลางคืน พวกมันจึงตื่นตอนกลางคืนและนอนตอนกลางวัน ดังนั้นหนูที่เลี้ยงในเวลากลางคืน จึงอยู่ในแนวการจัดตำแหน่งนาฬิกาชีวภาพ (Circadian alignment)
นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบช่วงให้อาหาร 2 ชั่วโมงในเวลากลางคืนถึงช่วง 12 ชั่วโมง, อายุขัยก็จะยืดยาวนานขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งบ่งบอกว่า ช่วงการกินตามการจัดตำแหน่งนาฬิกาชีวภาพ 12 ชั่วโมงนั้นเพียงพอที่จะเกิดประโยชน์จาก CR
Acosta-Rodriguez et al., 2022 | Science - การจํากัดแคลอรี่ในเวลากลางคืน เพิ่มอายุขัยได้มากกว่าการจํากัดแคลอรี่ในเวลากลางวัน เมื่อเทียบกับหนูที่เลี้ยงแบบไม่จํากัดอาหาร (AL – ad libitum),
หนูที่เลี้ยงแบบจํากัดแคลอรี่ (CR) ที่ไม่มีหน้าต่างให้อาหาร/การอดอาหาร (CR-spread) มีอายุยืนยาวขึ้น 10.5%
หนูที่เลี้ยงให้อาหารภายในกรอบเวลากลางวัน 12 ชั่วโมง (CR-day-12h) มีอายุยืนยาวขึ้น 18.9%
หนูที่เลี้ยงภายในกรอบเวลา 2 ชั่วโมงตอนกลางวัน (CR-day-2h) มีอายุยืนยาวขึ้น 21.1%
หนูที่เลี้ยงภายในกรอบเวลา 12 ชั่วโมงในเวลากลางคืน (CR-night-12h) มีอายุยืนยาวขึ้น 33.6% และ
หนูที่เลี้ยงภายในกรอบเวลา 2 ชั่วโมงในเวลากลางคืนมีอายุยืนยาวขึ้น 34.8%
หนูที่ให้กินอาหารแบบไม่จำกัด (AL) จะค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักตัวจนถึงอายุ 20 เดือน หลังจากนั้นหนูจะมีน้ำหนักลดลงตามอายุ ในทางตรงกันข้าม หนู CR ทุกตัวรักษาน้ำหนักตัวที่ลดลงตลอดอายุขัยได้ ซึ่งบ่งชี้ว่า การจัดตำแหน่งนาฬิกาชีวภาพ ไม่เพิ่มการลดน้ำหนักตัวที่เกิดจาก CR
กิจกรรมการเคลื่อนไหวประจำวัน จะสัมพันธ์กับอายุขัยที่ยาวขึ้น ซึ่งถือว่า เป็นตัวชี้วัดของช่วงสุขภาพ (Healthspan) จากการศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมการเคลื่อนไหว ไม่ส่งผลต่ออายุขัยของหนู ดังนั้นกิจกรรมที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อการจัดตำแหน่งนาฬิกาชีวภาพกับ CR
หนูทุกตัวจะเสียชีวิตด้วยโรคที่คล้ายคลึงกัน โดยส่วนใหญ่จะเป็นมะเร็งหลายชนิด โดยมีอุบัติการณ์สูงสุดอยู่ที่ตับ เมื่อเปรียบเทียบกับหนู AL แล้ว, หนู CR เสียชีวิตด้วยโรคเหล่านี้ในช่วงบั้นปลายของชีวิต เมื่อดูที่ระดับฮอร์โมน, หนู CR มีการปรับปรุงความไวต่ออินซูลิน ซึ่งบ่งบอกถึงการช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
Leptin (ฮอร์โมนที่ยับยั้งความหิว), แสดงให้เห็นว่า เลปตินจะเพิ่มขึ้นสัมพันธ์ของอายุในหนู AL ซึ่งภาวะนี้ จะไม่เกิดขึ้นในหนู CR ซึ่งอาจบ่งบอกถึง การดื้อต่อเลปติน (R) ที่จะสัมพันธ์กับโรคอ้วน ข้อมูลนี้สอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้านี้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า CR สามารถชะลอหรือป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุได้
การจำกัดแคลอรี่ (Caloric restriction) ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของยีนที่สัมพันธ์กับอายุ
การเปลี่ยนแปลงในการกระตุ้นยีนที่เกิดขึ้นตอนอายุมาก มักเป็นสาเหตุของความผิดปกติของเซลล์ ที่นำไปสู่โรคที่เกี่ยวข้องกับอายุ เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับอายุในการกระตุ้นยีน Acosta-Rodriguez และเพื่อนร่วมงาน ได้ทำการวิเคราะห์ยีนจากตับ ซึ่งเป็นยีนที่ได้รับผลกระทบจากความชรามากที่สุด หนู CR ที่ได้รับอาหารเป็นเวลา 2 ชั่วโมงในเวลากลางคืน มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของยีนน้อยที่สุด โดยมีการป้องกันการเปลี่ยนแปลงของยีนที่เกี่ยวข้องกับอายุได้มากที่สุด
ในบรรดายีนที่ได้รับการปกป้องโดย CR โดยทั่วไปคือ ยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ ยีนที่ได้รับการปกป้องเป็นพิเศษในกลุ่ม CR-night มีความเชื่อมโยงกับการลดการอักเสบและความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ซึ่งเป็นจุดเด่นของการแก่ชรา (Hallmarks of Aging)
แม้ว่า CR โดยทั่วไปจะช่วยลดการอักเสบและความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นได้ แต่ CR ที่มีการจัดตำแหน่งนาฬิกาชีวภาพ (Circadian aligment) ดูเหมือนจะเพิ่มระดับการป้องกันต่อความเสียหายเหล่านี้อีกระดับหนึ่ง โดยรวมแล้ว ผลลัพธ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของยีนที่เกี่ยวข้องกับอายุที่ลดลงนั้น สัมพันธ์กับอายุขัยที่ยาวขึ้น
Acosta-Rodriguez et al., 2022 | Science - การจำกัดแคลอรี่ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของยีนที่เกี่ยวข้องกับอายุ ความแก่ชรานำไปสู่การใช้งานยีนบางตัวมากเกินไป (ลูกศรชี้ขึ้น) และยีนอื่น ๆ ทำงานน้อยเกินไป (ลูกศรชี้ลง) ซึ่งนำไปสู่โรคที่เกี่ยวข้องกับอายุ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ทั้งหมด หนู CR ที่เลี้ยงภายในกรอบเวลา 2 ชั่วโมงในเวลากลางคืน (CR.night.2h) ได้รับการปกป้องจากการเปลี่ยนแปลงของยีนส่วนใหญ่ โดยมีเพียง 2% เท่านั้นที่ทำงานมากเกินไปและ 2% ไม่ทำงานน้อยเกินไป
คุณควรกินเมื่อไหร่?
การศึกษาของ Acosta-Rodriguez และเพื่อนร่วมงาน ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการศึกษาอื่นไ ที่เกี่ยวกับหนู, โดยชี้ไปที่ CR เป็นตัวกลางในการยืดอายุขัย ด้วยการลดการอักเสบและความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ที่เกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนที่ดีขึ้น CR ยังแสดงให้เห็นว่า ลดการอักเสบในมนุษย์ด้วย (R)
การจัดตำแหน่ง Circadian ร่วมกับ CR ดูเหมือน จะช่วยเพิ่มการออกฤทธิ์กัน การศึกษาอื่นๆ แสดงให้เห็นว่า การจัดตำแหน่งนาฬิกาชีวภาพ จะช่วยเพิ่มอายุขัยของแมลงวันและส่งเสริมสุขภาพของมนุษย์ จากการศึกษา CR ในมนุษย์จำนวนมาก พบว่ามีการจัดตำแหน่งนาฬิกาชีวภาพอยู่แล้ว (ผู้เข้าร่วมวิจัย ได้รับประทานอาหารในเวลากลางวัน) จึงไม่น่าแปลกใจที่ CR ในช่วงเวลากลางวัน ที่มีการเคลื่อนไหวจะดีต่อสุขภาพมากกว่าการรับประทานอาหารในเวลากลางคืน
การศึกษานี้ สนับสนุนสิ่งที่ผู้รักสุขภาพหลายคนทำอยู่แล้ว เช่น การบริโภคอาหารที่ถูกจำกัดแคลอรี่ในช่วงเวลากลางวัน แต่ช่วงให้อาหารนั้นควรอยู่นานแค่ไหนในระหว่างวัน?
เมื่อพูดถึงการยืดอายุขัย ผลลัพธ์จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ากรอบ เวลา 2 ชั่วโมงไม่ได้ดีไปกว่ากรอบเวลา 12 ชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น ดูเหมือนว่ากรอบเวลา 12 ชั่วโมงในระหว่างที่ตื่น น่าจะมีประโยชน์
มีการศึกษาเชิงสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ เกี่ยวกับผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วนที่มีอายุ 20 ถึง 40 ปี แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าการจำกัดแคลอรี่จะทำให้น้ำหนักตัวลดลงและระดับกลูโคสดีขึ้น (R) แต่ช่วงการกินอาหาร ไม่ได้สร้างความแตกต่าง ช่วงให้อาหารที่เปรียบเทียบในการศึกษานี้ทั้งหมด อยู่ในช่วงตอนกลางวัน (8.00 น. ถึง 16.00 น., 12.00 น. ถึง 20.00 น. และ 8.00 น. ถึง 20.00 น.) ดังนั้นการรับประทานอาหารที่ถูกจำกัดแคลอรี่ในเวลาใดก็ได้ในระหว่างวัน สามารถปรับปรุงค่าพารามิเตอร์สุขภาพการเผาผลาญ ซึ่งอาจนำไปสู่อายุขัยที่เพิ่มขึ้นได้
Source
Acosta-Rodríguez V, Rijo-Ferreira F, Izumo M, Xu P, Wight-Carter M, Green CB, Takahashi JS. Circadian alignment of early onset caloric restriction promotes longevity in male C57BL/6J mice. Science. 2022 May 5:e. doi: 10.1126/science.abk0297. Epub ahead of print. PMID: 35511946.
Σχόλια