top of page

บรรจุภัณฑ์พลาสติก - เร่งให้แก่ก่อนวัย!


บรรจุภัณฑ์พลาสติก - เร่งให้แก่ก่อนวัย!
บรรจุภัณฑ์พลาสติก - เร่งให้แก่ก่อนวัย!

เราเคยรู้มาว่ามลภาวะทั้งหลายรอบตัวเราไม่ว่าจะเป็น ฝุ่น PM2.5, แสงแดด, ความเครียด เป็นต้น แต่ยังมีของบางอย่างที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างกลมกลืนกับชีวิตเรา โดยไม่รู้เลยว่า มันมีผลในเร่งกระบวนการแก่ชราได้


หลายสิ่งที่ใกล้ตัวเรา หนึ่งในนั้นก็คือ Microplastics (ซึ่งเป็นเศษพลาสติกขนาดเล็กมาก) จากศึกษาพบว่า การสัมผัสกับ Microplastics สามารถเร่งการแก่ชราของระบบสืบพันธุ์และหลอดเลือดหัวใจได้


ประเด็นสำคัญ: 


  • เราสามารถสัมผัสไมโครพลาสติกได้จากหลายแหล่ง รวมถึงผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้กันทั่วไป จากน้ำประปา และแม้แต่อากาศที่เราหายใจ

  • การศึกษาเกี่ยวกับในสัตว์ทดลองชี้ให้เห็นว่า ไมโครพลาสติกทำให้ลูกอัณฑะและหลอดเลือดแก่ก่อนวัย 

  • ผลกระทบที่ทำให้แก่เร็วขึ้นของไมโครพลาสติก จะยับยั้งได้ด้วย Pinostrobin, เรสเวอราทรอล และอื่นๆ รวมถึงสารซีโนไลติกส์ 


ไมโครพลาสติก (MPs: Microplastics) มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง อนุภาคของพลาสติกมีขนาดที่เล็กมาก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งจะยังคงลอยอยู่ในน้ำและบรรยากาศรอบตัวเรา พวกเราแทบจะไม่รู้ตัวเลยว่า อนุภาคเหล่านี้ สามารถเข้าสู่ร่างกายเราได้ทั้งจากการกิน การสูดดม และดูดซึมผ่านผิวหนังของเรา ทั้งหมดนี้เป็นเพราะ MPs พบได้ในสิ่งของเครื่องใช้รอบตัวเรา ตั้งแต่เครื่องสำอาง บรรจุภัณฑ์พลาสติก ไปจนถึงน้ำประปา และในอากาศที่เราหายใจด้วย 



พลาสติกเข้าไปสู่ห่วงโซ่อาหาร
พลาสติกเข้าไปสู่ห่วงโซ่อาหาร

เมื่อพลาสติกถูกทิ้งลงในดิน MPs จะถูกพืชดูดซึมเข้าสู่ลำต้นได้ รวมถึงผักและผลไม้ที่เรากินด้วย จากนั้นก็จะเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารที่อยู่เหนือขึ้นไป ซึ่งคนอาจจะรับประทานผักที่มี MPs เข้าไปโดยตรง หรือ MPs อาจจะถูกส่งต่อไปอยู่ในเนื้อสัตว์ เช่น หมู วัว ไก่ รวมไปถึงปลา และอาหารทะเลด้วย


ถ้าเราไม่จริงจังพอ ก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับ MPs ได้ พวกมันจะซึมซับเข้าไปในอาหารและเครื่องดื่มจากภาชนาะพลาสติกที่ใช่้บรรจุ ซึ่งแน่นอนที่รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์กระดาษด้วย เนื่องจากด้านในของภาชนะดังกล่าวจะถูกเคลือบด้วยพลาสติดบางๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ของเหลวซึมผ่านเข้าไปในเนื้อกระดาษ


ที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้น การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ แสดงให้เห็นว่า การเพิ่มอุณหภูมิของน้ำในถ้วยกระดาษเคลือบพลาสติก จะทำให้จำนวน MPs ที่ถูกละลายชะลงไปในอาหารเพิ่มมากขึ้นได้ เช่นเดียวกับ เครื่องดื่มร้อน เช่น กาแฟและชา การศึกษาใหม่อีกชิ้นหนึ่ง ทำให้คาดการณ์ได้ว่า การใช้ถ้วยพลาสติกทุกๆ 4-5 วันอาจทำให้เกิดการบริโภคไมโครพลาสติกได้ถึง 37,613–89,294 ชิ้นต่อปี (ขนาด MPs ที่เป็นชิ้นเล็ก)



อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ MPs ถูกชะลงไปในของเหลว
อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ MPs ถูกชะลงไปในของเหลว

Chen et al., 2023 | Science of The Total Environment - อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ MPs ถูกชะลงไปในของเหลว ปริมาณ MPs ที่ชะลงไปในน้ำจะเพิ่มมากขึ้นที่ระดับอุณหภูมิ ที่มักจะใช้ใส่ชาร้อน ช็อกโกแลตร้อน และกาแฟร้อน ( ~ 72 °C ถึง 85°C ) ซึ่งภาชนะพวกนี้จะเคลือบด้วยโพลีเอทิลีน (PE) เช่นเดียวกับที่ขายที่ Starbucks และ ถ้วยโพลีโพรพีลีน (PP) และโพลีสไตรีน (PS)



ไมโครพลาสติกจะทำให้คุณแก่ก่อนวัยได้อย่างไร 


นักวิทยาศาสตร์เพิ่งเริ่มค้นคว้าผลกระทบของ MPs ต่อการสูงวัย ดังนั้นหลักฐานในปัจจุบัน จึงมาจากการศึกษาในสัตว์เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม หากผลสะท้อน MPs มีความชัดเจนมากขึ้น อาจจะเห็นเงินทุนใส่เข้าไปสำหรับการศึกษาในมนุษย์ในไม่ช้า 



ลูกอัณฑะเสื่อมก่อนเวลาอันควร


จากการศึกษาล่าสุด การได้รับสาร MP ทำให้เกิดการแก่ของอัณฑะก่อนวัยอันควรในหนู ส่วนใหญ่การจะบอกว่า แก่หรือไม่แค่ไหน นักวิทยาศาสตร์จะประเมินจากปริมาณเซลล์ที่เสื่อมสภาพ (Senescence cell) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ครั้งหนึ่งเคยแข็งแรงดีและได้เปลี่ยนไปสู่ภาวะผิดปกติ ในกระบวนการแก่ชรานั้น จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การเหนี่ยวนำให้เกิดเซลล์ชรา/เซลล์ที่เสื่อมสภาพนั้นถูกกระตุ้นโดยความผิดปกติของไมโตคอนเดรีย (R) ความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น และการอักเสบ (R) ซึ่งเรียกว่าจุดเด่นของความชรา (Hallmark of Aging)


ในการศึกษาล่าสุดอีกชิ้นหนึ่งนักวิจัยได้ติดตามศึกษา ROS (reactive oxygen species) อย่างใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เมื่อปล่อยทิ้งไว้ มันจะกระตุ้นให้เกิดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นและทำให้การอักเสบเพิ่มขึ้น ซึ่งเชื่อกันว่า มีส่วนทำให้เกิดกระบวนการชรา นักวิจัยยังพบว่า สารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งควบคุม ROS ไว้นั้นลดลงในหนูที่สัมผัสกับ MPs เรื่องนี้น่าจะมีส่วนทำให้เกิดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในระดับสูงที่พบในหนูเหล่านี้ 


นอกจากนี้ การเสริมด้วยสารที่เรียกว่า pinostrobin ซึ่งพบใน กระชาย (fingerroot) จะช่วยป้องกันไม่ให้สารต้านอนุมูลอิสระลดน้อยลง รวมทั้งป้องกันความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่สอดคล้องกันในหนูที่ได้รับ MPs การค้นพบใหม่เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า pinostrobin จากกระชายสามารถต่อต้านผลกระทบของ MPs ต่ออายุของลูกอัณฑะได้ 



ราก Boesenbergia rotunda หรือที่รู้จักในชื่อ กระชาย และพืชอื่นๆ มีโมเลกุลพินอสโตรบิน
ราก Boesenbergia rotunda หรือที่รู้จักในชื่อ กระชาย และพืชอื่นๆ มีโมเลกุลพินอสโตรบิน

การแก่ชราของหัวใจและหลอดเลือด


ในการศึกษาพบว่า การสัมผัส MP ทำให้หลอดเลือดแก่ก่อนวัยอันควรในหนูทดลอง (R) สิ่งนี้แสดงให้เห็นได้จากอาการหลายอย่างของการแก่ชรา รวมถึงเซลล์ชราภาพ ความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น การอักเสบ และความเสียหายของ DNA การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่า MPs กระตุ้นให้ลูกอัณฑะและหลอดเลือดแก่ชราในลักษณะเดียวกัน


นอกจากนี้ ยังมีการศึกษา (R) ที่แสดงให้เห็นว่า นาโนพลาสติก (NPs) ซึ่งมีลักษณะคล้าย MP แต่มีขนาดเล็กกว่า จะกระตุ้นให้เกิดความชราในหนู จะมีสัญญาณที่ชัดเจนของการแก่ชราของหลอดเลือดหัวใจ เช่น การผ่อนคลายหลอดเลือดผิดปกติ นอกจากนี้ ในการทดลองกับเซลล์ สารต่อต้านวัยอีกตัว เช่น NAC (N-acetylcysteine) และเรสเวอราทรอล ซึ่งเป็นทั้งสารต้านอนุมูลอิสระ แสดงให้เห็นว่า สามารถป้องกันการแก่ชราที่เกิดจาก NPs ได้





การต่อต้านการแก่ชราที่เกิดจากไมโครพลาสติก


แม้ว่าการหลีกเลี่ยงบรรจุภัณฑ์พลาสติก ถ้วยดื่ม และภาชนะจัดเก็บ อาจจำกัดการบริโภค MPs แต่บางคนอาจสงสัยว่า มีวิธีรับมือกับผลกระทบที่เร่งให้เราแก่เร็วขึ้นหรือไม่ จากการศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นว่าโมเลกุลของสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น pinostrobin เรสเวอราทรอล และ NAC สามารถช่วยเรื่องนี้ได้ อย่างน้อยก็โดยการลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน


มีการทดลองที่แสดงว่า สารเรสเวอราทรอลและ NAC ช่วยลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันในสัตว์ทดลอง นอกจากนี้ NAC เมื่อให้ร่วมกับไกลซีน (Glycine) แสดงให้เห็นว่า สามารถยืดอายุขัยในหนูแก่ (R) และปรับปรุงการรับรู้ เพิ่มประสิทธิภาพทางกายภาพ และลดการดื้อต่ออินซูลินในผู้สูงอายุ (R) อย่างไรก็ตาม การศึกษา NAC + ไกลซีน ยังไม่มีการทำวิจัยซ้ำโดยทีมวิจัยอื่นเพื่อยืนยัน



Senolytics กำจัดเซลล์ชราออกจากร่างกาย
Senolytics กำจัดเซลล์ชราออกจากร่างกาย

Wang et al., 2021 - Senolytics Senolytics กำจัดเซลล์ชราออกจากร่างกาย


แม้ว่าจะมีการโต้เถียงกันมาก แต่อีกทางเลือกหนึ่ง คือการใช้สาร senolytics ซึ่งเป็นสารประกอบที่ จะเลือกกำจัดเซลล์ชราภาพ (เซลล์เสื่อมสภาพ) ออกไป พบว่าสารซีโนไลติกส์ช่วยชะลอความชราในหนูที่มีอายุมากกว่า


อย่างไรก็ตาม บทบาทของการสลายซีโนไลติกในสัตว์อายุน้อยและมนุษย์ยังไม่ชัดเจน เนื่องจากเซลล์ชราภาพ อาจไม่ได้สะสมจนถึงระดับที่จะกระตุ้นให้เกิดความชรา ดังนั้นการศึกษาผลกระทบของ senolytics ต่อสัตว์ฟันแทะทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่สัมผัสกับ MPs อาจเป็นประโยชน์ต่อเราได้ในอนาคต





References


Chen, H., Xu, L., Yu, K., Wei, F., & Zhang, M. (2023). Release of microplastics from disposable cups in daily use. Science of The Total Environment, 854, 158606. https://doi.org/10.1016/j.scitotenv.2022.158606


Zhou, G., Wu, Q., Tang, P., Chen, C., Cheng, X., Wei, X., Ma, J., & Liu, B. (2023). How many microplastics do we ingest when using disposable drink cups? Journal of Hazardous Materials, 441, 129982. https://doi.org/10.1016/j.jhazmat.2022.129982


Wu, D., Zhang, M., Bao, T. T., & Lan, H. (2023). Long-term exposure to polystyrene microplastics triggers premature testicular aging. Particle and fibre toxicology, 20(1), 35. https://doi.org/10.1186/s12989-023-00546-6


Ijaz, M. U., Najam, S., Hamza, A., Azmat, R., Ashraf, A., Unuofin, J. O., Lebelo, S. L., & Simal-Gandara, J. (2023). Pinostrobin alleviates testicular and spermatological damage induced by polystyrene microplastics in adult albino rats. Biomedicine & Pharmacotherapy, 162, 114686. https://doi.org/10.1016/j.biopha.2023.114686


Wang, K., Yipeng, D., Peixin, L., Chang, G., Zhou, M., Lanlan, W., Zengfu, L., & Zheng, H. (2023). Microplastics accelerates the premature aging of blood vessels though ROS-mediated CDK5 signaling pathway. PREPRINT (Version 1) available at Research Square. https://doi.org/10.21203/rs.3.rs-3222853/v1


Shiwakoti, S., Ko, J., Gong, D., Dhakal, B., Lee, J., Adhikari, R., Gwak, Y., Park, S., Jun Choi, I., Schini-Kerth, V. B., Kang, K., & Oak, M. (2022). Effects of polystyrene nanoplastics on endothelium senescence and its underlying mechanism. Environment International, 164, 107248. https://doi.org/10.1016/j.envint.2022.107248


Wang, Y., He, Y., Rayman, M. P., & Zhang, J. (2021). Prospective Selective Mechanism of Emerging Senolytic Agents Derived from Flavonoids. Journal of agricultural and food chemistry, 69(42), 12418–12423. https://doi.org/10.1021/acs.jafc.1c04379


Comments


สินค้าขายดี

bottom of page