top of page

การให้ NAD+ ทางเส้นเลือด ได้ผลหรือไม่?

NAD+ Drip IV therapy คือ การบำบัดด้วยการให้ nicotinamide adenine dinucleotide (NAD+) ผ่านทางเส้นเลือดดำ ด้วยการผสม NAD+ ในน้ำเกลือ แล้วดริปให้ทางเส้นเลือดดำช้าๆ ใช้เวลา 30 นาที - 2 ชม.

ตอนนี้คงไม่มีอะไรที่จะร้อนแรงเท่า NAD+ อีกแล้ว เมื่อ Justin Bieber นักร้องที่มีชื่อเสียงระดับโลกเปิดเผยว่า เขาใช้การบําบัดด้วย NAD⁺ Drip IV เพื่อรักษาการติดยา

 

ทำให้หลายคนสงสัยว่า การฉีดด้วย NAD+ Drip IV ได้ผลจริงหรือไม่

การบำบัดด้วย NAD+ ทางเส้นเลือดมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะเพิ่มระดับของ NAD+ ในร่างกาย ซึ่งร่างกายจะนำ NAD+ ไปใช้สร้างพลังงานด้วยการเปลี่ยนสารอาหารที่เรารับประทานเข้าสู่ร่างกาย ให้เป็นพลังงานในรูปแบบของ ATP เมื่ออายุมากขึ้น ปริมาณสาร NAD+ ในร่างกายเราจะลดน้อยลงเรื่อยๆ ทำให้เกิดอาการเสื่อมทั่วร่างกาย และจะเกิดโรคที่สัมพันธ์กับความแก่ชราเกิดตามมา (*)

การวิจัย - การบำบัดด้วย NAD+ ทางเส้นเลือด 

(์NAD+ Drip IV Therapy)

การติดยาเสพติดและติดสุรา

 

มีการลือกันว่า การบำบัดด้วย NAD+ IV เริ่มจากเอกสารงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี 1961 (*) ที่ระบุว่า ได้ให้น้ำเกลือผสม NAD+ ทำให้ทุเลาความอยากและอาการถอนของคนที่ติดยาเสพติดและติดสุราได้ โดยจะให้ที่ 5 - 35 หยดต่อนาที แม้แต่คนป่วยที่มึนเมาก็มีอาการดีขึ้นทันทีและคนที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ 2 รายที่ได้รับ NAD+ ทางเส้นเลือด (และฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อ) ก่อนจะดื่มแอลกอฮอล์ (*) ปรากฏว่าไม่มีอาการแฮงค์ (Hangover) ทำให้เชื่อกันว่า จากงานวิจัยนี้ที่ทำให้จัสติน บีเบอร์และอีกหลายคนเลือกใช้การบำบัดด้วย NAD+ IV

โรคพาร์กินสันและอาการซึมเศร้า

 

มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การบำบัด NAD+ IV จะช่วยบรรเทาอาการของโรคพาร์กินสัน (*) การออกฤทธิ์ของ NAD+ ในโรคพาร์กินสันจะสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของสารนำประสาท - Dopamine ซึ่งมีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวที่ควบคุมไม่ได้ในโรคพาร์กินสัน

 

การทดสอบหลายวิธีที่การให้ NADH (เป็นฟอร์มหนึ่งของ NAD+) รวมทั้งทาง IV (เส้นเลือดดำ) ด้วย พบว่า 93% ของคนไข้จะมีอาการซึมเศร้าดีขึ้น (*)

 

ระดับ NAD+ ในพลาสม่า หลังจากให้ทางเส้นเลือด

 

จากการศึกษาในปี 2019 (*) - เรื่องความเข้มข้นของ NAD+ ในพลาสม่า (เลือดประกอบด้วย: เม็ดเลือด, เกร็ดเลือด และพลาสม่า) ที่วัดจากการให้ IV NAD+ (ผสม NAD+ ในน้ำเกลือ) แสดงให้เห็นว่า NAD+ ในพลาสม่าไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน แต่จะเพิ่มสูงขึ้นหลังจาก 2 ชม. ไปแล้ว — นั่นหมายความว่า เมื่อให้ NAD+ IV เซลล์และเนื้อเยี่อต่างๆ จะนำ NAD+ ไปใช้ภายใน 2 ชม.แรก ทำให้ตรวจพบ NAD+ ในพลาสม่าได้น้อยนั่นเอง

ดร.เดวิด ซินแคลร์ นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อด้านชะลอวัย ได้พูดใน Twitter ถึงการวิจัยนี้ว่า

มีการพูดถึงเรื่องการฉีด NAD+ ทางเส้นเลือดกันมาก จำเป็นต้องมีข้อมูลมากกว่านี้ การศึกษาทำในผู้ชาย 11 คนที่ให้ NAD+ 750 มก. (2 มก./นาที) ทางเส้นเลือด แสดงให้เห็นว่าระดับ NAD+ ในพลาสม่าไม่สูงขึ้นใน 2 ชม.แรก นั่นหมายความว่า NAD+ เสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว หรือเซลล์นำไปใช้ .

จากการศึกษาในปี 2019 (*) - เรื่องความเข้มข้นของ NAD+ ในพลาสม่า (เลือดประกอบด้วย: เม็ดเลือด, เกร็ดเลือด และพลาสม่า) ที่วัดจากการให้ IV NAD+ (ผสม NAD+ ในน้ำเกลือ) แสดงให้เห็นว่า NAD+ ในพลาสม่าไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน แต่จะเพิ่มสูงขึ้นหลังจาก 2 ชม. ไปแล้ว — นั่นหมายความว่า เมื่อให้ NAD+ IV เซลล์และเนื้อเยี่อต่างๆ จะนำ NAD+ ไปใช้ภายใน 2 ชม.แรก ทำให้ตรวจพบ NAD+ ในพลาสม่าได้น้อยนั่นเอง

แม้จะไม่ใช่งานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ แต่จากคำอธิบายในหนังสือ ที่สนับสนุนการบำบัด NAD+ IV จากหนังสือที่เขียนโดยนักจิตวิทยา Theo Verwey "NAD+ Therapy! Too Good to Be True?" เขาได้เปิดเผยว่า เขาได้ให้การรักษากับคนไข้มากกว่า 6000 รายด้วยการบำบัด NAD+ IV

 

Theo ได้ตั้งสมมุติฐานว่า การขาด NAD+ทำให้เกิดความผิดปกติที่แสดงออกทั้ง การอ่อนเพลียเรื้อรัง, การเสพติด, อาการซึมเศร้า, เครียด, กังวล และเจ็บป่วยเรื้อรัง

 

นอกจากนี้ในหนังสือ Addiction: the Dark Night of the Soul/Nad+: the Light of Hope นักบําบัดโรค Paula Norris Mestayer ภรรยาของ Dr. Richard Mestayer และผู้ร่วมก่อตั้ง NAD+ Research Inc. ได้เล่าประสบการณ์ในการใช้ NAD+ IV therapy ตลอดระยะเวลา 18 ปีเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเลิกดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติดได้สำเร็จ Norris Meystayer ได้พูดไว้ในหนังสือว่า:

 

“ประเทศของเรา มียาเสพติดแพร่ระบาดไปทั่ว, สิ่งแรกที่พวกเราตอบสนองคือ การเขียนใบสั่งยา ที่ใช้ยาเสพติดนำมาบำบัด ซึ่งผู้ป่วยจะต้องอยู่กับ เมธาโดน (methadone) หรือ ซูบ๊อกโซน (Suboxone) ตลอดชีวิต เมื่อมีตัวเลือกอื่นในการรักษาที่เป็นธรรมชาติที่สุด” (*)

 

 

โดยรวมแล้ว งานวิจัยทางคลินิกและหลักฐานจํานวนมาก ได้บ่งชี้ให้เห็นว่า การรักษาด้วย NAD⁺ IV สามารถรักษาการติดสุรา และยาเสพติด และโรคพาร์กินสันได้

 

การบําบัดด้วย IV NAD+ ดูเหมือนจะช่วยในเรื่องภาวะซึมเศร้าและความผิดปกติทางจิตเวชอื่นๆ ได้ด้วย ดังนั้นการโฆษณาที่อ้างถึงสรรพคุณการรักษาด้วย NAD+ IV จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่การโฆษณาเท่านั้น มันใช้ได้ผลจริงๆ ตอนนี้มีตัวเลือกมากมาย ที่จะเพิ่มระดับ NAD+ และการบำบัดด้วย NAD+ ทางเส้นเลือดจะเป็นตัวเลือดที่ดีกว่าหรือไม่

การให้ NAD+ ทางเส้นเลือดและการให้กิน

 

 

วัตถุประสงค์คือ การบูสต์เพิ่ม NAD+

 

เมื่อ NAD+ มีประโยขน์มากขนาดนี้ ทำไมไม่มีผลิตในรูปแบบอื่นกัน? เหตุผลก็คือ NAD+ เมื่อให้กินทางปาก มันจะถูกสลายอย่างรวดเร็ว จนไม่เหลือให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เมื่อย้อนกลับไปในปี 1961, การรักษาคนไข้ติดยาเสพติดและติดสุราด้วยการในทางเส้นเลือด เป็นวิธีเดียวที่ทำได้ในการเพิ่มระดับ NAD+ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ สารตั้งต้นของ NAD+ (NAD+ precursor) ทั้ง Nicotinamide Riboside (NR) และ Nicotinamide Mononucleotide (NMN) ที่สามารถให้กินทางปากได้ โดยไม่มีอาการข้างเคียงเกิดขึ้น

 

มีงานวิจัยน้อยมาก ที่ทำการทดลองในคนและสัตว์ ถึงผลของการให้ NAD+ ทางเส้นเลือด และงานวิจัยก็ไม่มีการอ้างอิงถึงปริมาณ NAD+ ที่ให้ทางเส้นเลือดอย่างเป็นมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นแต่ละคลินิกจึงให้แตกต่างกันไป ตามแต่เหตุผลที่ใช้อ้าง ตัวอย่างเช่น ถ้าให้เพื่อต้องการผลด้านการชะลอวัย ก็มีบางคลินิกในลาส เวกัส จะให้ 3 ครั้งทุกสัปดาห์ แล้วตามด้วยเดือนละครั้ง เป็นต้น ซึ่งก็ไม่มีหลักฐานมายืนยันว่า สูตรที่ให้แบบนี้จะช่วยให้ระดับของ NAD+ ในเซลล์สูงขึ้นได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่

 

แต่ในทางกลับกัน มีการทดลองทำวิจัยในคนและสัตว์ ถึงผลของการกินสารตั้งต้น NAD+ (NAD+ precursor) - ทั้ง NMN และ NR - เป็นอาหารเสริมทุกวัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ระดับของ NAD+ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงสรุปได้ว่า การกิน สารตั้งต้น NAD+ ทั้ง NMN หรือ NR มั่นใจได้ว่า ระดับ NAD+ ในเซลล์ยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

การให้ NAD+ ทางเส้นเลือด ช่วยเรื่องชะลอวัย?

 

การให้ NAD+ ทางเส้นเลือด เพื่อต้องการช่วยเรื่องชะลอวัย - ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน มีเพียงการศึกษาในคนไข้พาร์กินสันถึงผลชะลอวัยทางอ้อม ซึ่งคนไข้พาร์กินสันมักจะเกิดในวัย 60 ปี ที่เป็นโรคที่เกิดจากอายุ

 

ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว พบว่ามีงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่า สารตั้งต้น NAD+ โดยเฉพาะ NMN สามารถช่วยเรื่องชะลอวัยได้ รวมทั้งช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลิน (Insulin sensivity) (*), เพิ่มประสิทธิการนอนหลับ (*) และเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ (*) ดังนั้นเมื่อพูดถึงหลักฐานที่สนับสนุนเรื่องชะลอวัยแล้ว การกินสารตั้งต้นของ NAD+ จะมีประสิทธิืภาพดีกว่าการฉีด NAD+

 

 

 

การให้ NAD+ทางเส้นเลือดดีกว่าการกินสารตั้งต้นของ NAD+ หรือไม่?

 

ตอนนี้ ดูเหมือนว่ายังไม่มีงานวิจัยที่ชี้ชัดว่า วิธีไหนดีกว่ากันที่จะมีผลดีต่อสุขภาพมากที่สุด ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องให้ทางน้ำเกลือเท่านั้น น่าจะมีการศึกษาเปรียบเทียบเพื่อดูผลทางคลินิกระหว่างวิธีต่างๆ ที่ใช้ในการบูสต์ NAD+ ว่าวิธีไหนที่ได้ผลกว่ากัน ตัวอย่างเช่น การศึกษาเปรียบเทียบ ความอยากและอาการลงแดงในผู้ป่วยติดยาเสพติดและติดสุรา จากการให้ NAD+ ทางเส้นเลือดและการให้กิน NMN จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่า วิธีไหนดีกว่ากัน แต่ทั้ง 2 วิธีก็ให้ผลการรักษาที่เหมือนกัน.

 

การวิเคระห์ความเสี่ยงและประโยชน์จากการให้บำบัดด้วย NAD+ (*), จากการรีวิวงานวิจัย ที่ทำในคนและสัตว์ทดลองเพื่อบูสต์เพิ่ม NAD+ ทุกวิธี พอสรุปได้ว่า "เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการให้ NAD+ IV หายากมาก ทั้งที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในเรื่องการชะลอวัย" แต่อย่างไรก็ตาม การที่งานวิจัยเรื่องการให้ NAD+ IV จะมีไม่มากนัก อาจจะเป็นเพราะนักวิจัยเลือกที่จะใช้สารตั้งต้น NAD+ (เช่น NMN หรือ NR) ในการทำวิจัยถึงผลจากการบูสต์เพิ่ม NAD+ ที่เจ็บตัวน้อยกว่าและกินเวลาน้อย (NAD+ IV ให้ทางเส้นเลือดใช้เวลา 30 นาที ถึง 2 ชม.) ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ คนส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกกินสารตั้งต้น NAD+ มากกว่าการฉีด

Braidy & Liu, 2020 | Experimental Gerontology ประโยชน์ที่ได้จากการเพิ่ม NAD+ ในร่างกาย

ขนาดที่รับประทาน และความปลอดภัย

 

ไม่ว่าจะวิธีไหนในการเพิ่ม NAD+ ในร่างกาย ต่างก็ได้ผลจากการรักษาด้วย NAD+ ทั้งวิธีฉีดเข้าเส้น หรือจะกินสารตั้งต้น NAD+ ก็ให้ผลที่เหมือนกัน แน่นอนว่า มันขึ้นกับขนาด ซึ่งอยู่ที่ว่ากำลังรักษาอะไรอยู่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีวิจัยที่ค่อนข้างน้อยเกี่ยวกับผลของการให้ NAD+ IV ในการชะลอวัย, จึงค่อนข้างยากในการกำหนดขนาดที่จำเป็นต้องใช้ในการชะลอวัยและป้องการกันโรคที่มากับอายุ

 

กรณีศึกษา ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่ได้รับ NAD+ IV ขนาด 500-1500 มก./วัน ตลอดระยะเวลา 8 วันพบว่า อาการทุเลาขึ้น ในการศึกษาอื่นผู้ป่วยโรคพาร์กินสันบางรายมีอาการดีขึ้นหลังจากรับประทาน NR 1,000 มก. / วันเป็นเวลา 30 วัน และในบางงานวิจัย พบว่าผู้ป่วยโรคพาร์กินสันบางรายมีอาการดีขึ้นหลังจากได้รับ NR 1000 มก./วัน เป็นเวลา 30 วัน (*) ดังนั้นขนาดสําหรับการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุ เช่น โรคพาร์กินสัน อาจจะคล้ายกันระหว่าง IV NAD+ และสารตั้งต้น NAD+ เช่น NR แต่ถือหลักฐานยังน้อยเกินไปที่จะสรุปได้ กรณีใช้เพื่อชะลอวัย, มีการศึกษาเรื่องนี้กันมากขึ้น เพื่อบอกขนาดสารตั้งต้น NAD+ ตัวอย่างเช่น ขนาดสําหรับ NMN จะอยู่ระหว่าง 500-1000 มก./วันขึ้นอยู่กับอายุและน้ําหนักของคนไข้

 

โดยทั่วไป การให้ยามีความเสี่ยงที่จะผิดพลาดมากที่สุด และการให้ทางเส้นเลือดจะมีโอกาสเกิดความผิดพลาดทางการแพทย์ที่รุนแรงที่สุด พบว่าการให้ยาทางเส้นเลือด มีความสัมพันธ์กับการเกิดความผิดพลาดจากการให้ยาถึง 56% ถ้าได้รับยาไม่ดีหรือไม่เหมาะสม, การฉีด IV อาจจะนําไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ, ความเสียหายของหลอดเลือดดํา หรือ ลิ่มเลือด ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยเปลี่ยนมาใช้วิธีการกิน ซึ่งมีโอกาสน้อยกว่ามากที่จะผิดพลาด และมีผลเสียถึงตายได้

 

การฉีดเข้าเส้นเลือดดํา ถือเป็นหัตถการทางการแพทย์ จึงต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่ง ดังนั้นคนไข้ต้องไปที่คลินิก หรือโรงพยาบาล หรืออาจจะมีบริการไปฉีดถึงที่บ้าน ซึ่งก็ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ ในการรับการรักษาด้วย IV, แพทย์หรือพยาบาล จะต้องประเมินบุคคลที่ได้รับการรักษาก่อน และจะต้องป้องกันการปนเปื้อนในน้ำเกลือที่ผสม NAD+ ก่อนจะฉีดเข้าเส้นเลือดให้กับคนไข้

อ้างอิง:

 

O’HOLLAREN P. Diphosphopyridine nucleotide in the prevention, diagnosis and treatment of drug addiction. A preliminary report. West J Surg Obstet Gynecol. 1961 May-Jun;69:213-5. PMID: 13730082 (*)

 

O’HOLLAREN P. Pyridine nucleotides in the prevention, diagnosis and treatment of problem drinkers. A preliminary report. West J Surg Obstet Gynecol. 1961 Mar-Apr;69:101-4. PMID: 13730083. (*)

 

Pérez MJ, Baden P, Deleidi M. Progresses in both basic research and clinical trials of NAD+ in Parkinson’s disease. Mech Ageing Dev. 2021 Jul;197:111499. doi: 10.1016/j.mad.2021.111499. Epub 2021 May 11. PMID: 33989633. (*)

 

Grant R, Berg J, Mestayer R, Braidy N, Bennett J, Broom S, Watson J. A Pilot Study Investigating Changes in the Human Plasma and Urine NAD+ Metabolome During a 6 Hour Intravenous Infusion of NAD. Front Aging Neurosci. 2019 Sep 12;11:257. doi: 10.3389/fnagi.2019.00257. PMID: 31572171; PMCID: PMC6751327. (*)

 

Braidy N, Liu Y. NAD+ therapy in age-related degenerative disorders: A benefit/risk analysis. Exp Gerontol. 2020 Apr;132:110831. doi: 10.1016/j.exger.2020.110831. Epub 2020 Jan 7. PMID: 31917996. (*)

 

Palmer RD, Elnashar MM, Vaccarezza M. Precursor comparisons for the upregulation of nicotinamide adenine dinucleotide. Novel approaches for better aging. Aging Med (Milton). 2021 Aug 4;4(3):214-220. doi: 10.1002/agm2.12170. PMID: 34553119; PMCID: PMC8444956. (*)

 

Brakedal B, Dölle C, Riemer F, Ma Y, Nido GS, Skeie GO, Craven AR, Schwarzlmüller T, Brekke N, Diab J, Sverkeli L, Skjeie V, Varhaug K, Tysnes OB, Peng S, Haugarvoll K, Ziegler M, Grüner R, Eidelberg D, Tzoulis C. The NADPARK study: A randomized phase I trial of nicotinamide riboside supplementation in Parkinson’s disease. Cell Metab. 2022 Mar 1;34(3):396-407.e6. doi: 10.1016/j.cmet.2022.02.001. PMID: 35235774. (*)

 

Maddox RR, Danello S, Williams CK, Fields M. Intravenous Infusion Safety Initiative: Collaboration, Evidence-Based Best Practices, and “Smart” Technology Help Avert High-Risk Adverse Drug Events and Improve Patient Outcomes. In: Henriksen K, Battles JB, Keyes MA, Grady ML, editors. Advances in Patient Safety: New Directions and Alternative Approaches (Vol. 4: Technology and Medication Safety). Rockville (MD): Agency for Healthcare Research and Quality (US); 2008 Aug. PMID: 21249948. (*)

bottom of page