top of page

งานวิจัยใหม่: NMN ช่วยบรรเทาความสิ้นหวังจากความเครียดทางสังคมได้

NMN ช่วยบรรเทาความสิ้นหวังจากความเครียดทางสังคมได้
NMN ช่วยบรรเทาความสิ้นหวังจากความเครียดทางสังคมได้

เมื่อเผชิญกับความท้อแท้ทางสังคม NMN อาจจะช่วยต่อต้านภาวะการหลีกเลี่ยงทางสังคม การขาดความสุข และความสิ้นหวังได้


ประเด็นสำคัญ:

 

  • การให้ NMN 100 มก./กก. แก่หนูเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ช่วยลดพฤติกรรมซึมเศร้า ที่เกิดจากความเครียดและท้อแท้ทางสังคม 

  • NMN ช่วยเพิ่มระดับ NAD+ และพลังงานของเซลล์ในบริเวณสมอง ที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า 


การศึกษาวิจัยใหม่ชี้ให้เห็นว่า ความเครียดทางสังคมส่งผลให้ระดับ NAD+ ในบริเวณสมองที่ควบคุมอารมณ์และความเครียดที่เรียกว่า คอร์เทกซ์ส่วนหน้า (Frontal Cortex) ลดลง การลดลงของ NAD+ จะทำให้ไมโตคอนเดรียผลิตพลังงานของเซลล์น้อยลง ส่งผลให้เกิดอาการคล้ายซึมเศร้า จากการวิจัยพบว่า การเพิ่มระดับ NAD+ ด้วย NMN จะช่วยบรรเทาพฤติกรรมคลายซึมเศร้านี้ได้ (R)



NMN ป้องกันพฤติกรรมซึมเศร้าจากความเครียดทางสังคม


นักวิจัยใช้การทดลองที่จำลองความเครียดจากการท้อแท้ทางสังคมในหนู เพื่อจำลองภาวะซึมเศร้าในหนู ในการทดลองนี้ ได้นำหนู ซึ่งเป็นหนูที่บุกรุก ใส่เข้าไปในกรงของหนูสายพันธุ์ใหญ่ที่เป็นเจ้าถิ่น ซึ่งเป็นหนูมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและรุกราน เมื่อเข้าไปในกรงแล้ว หนูที่บุกรุกจะถูกหนูที่รุกรานโจมตีและครอบงำทันที  


นักวิจัยจึงให้หนูที่บุกรุกเผชิญกับความเครียดจากการท้อแท้ทางสังคมติดต่อกัน 10 วัน ซึ่งก็คือ ความเครียดจากการท้อแท้ทางสังคมเรื้อรัง (CSDS) ส่งผลให้หนูที่บุกรุกแสดงพฤติกรรมคล้ายซึมเศร้า ได้แก่ การหลีกเลี่ยงสังคม ขาดความสุข และความสิ้นหวัง ซึ่งในการทดลองพบว่า หนูที่ได้รับ NMN 100 มก./กก. เป็นเวลา 3 สัปดาห์ก่อนการทดลอง CSDS, สามารถเลี่ยงการเกิดพฤติกรรมคล้ายซึมเศร้าได้เป็นส่วนใหญ่  





การหลีกเลี่ยงสังคม


เพื่อวัดการหลบเลี่ยงทางสังคม หนูถูกวางไว้ในบริเวณที่ไม่คุ้นเคยซึ่งมีกรงเล็กๆ ว่างๆ อยู่ที่ปลายด้านหนึ่ง จากนั้นติดตามการเคลื่อนไหวของหนูเป็นเวลา 2.5 นาที จากนั้นจึงวางหนูตัวที่รุกรานเข้าไปในกรงและติดตามการเคลื่อนไหวของหนูอีกครั้ง เวลาน้อยที่ใช้ใกล้กับกรงเมื่อหนูตัวรุกรานอยู่จะถือว่า เป็นพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงทางสังคม 


NMN ป้องกันการหลีกเลี่ยงสังคม
NMN ป้องกันการหลีกเลี่ยงสังคม 

กราฟซ้าย: Deng et al., 2024 , แผนภาพขวา: Wendelmuth et al., 2020 - NMN ป้องกันการหลีกเลี่ยงสังคม ซ้าย: เมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ไม่มีความเครียด (สีทอง) หนูที่ประสบความเครียดจากการท้อแท้ทางสังคมเรื้อรัง (CSDS สีฟ้าอ่อน) จะมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมน้อยลง


จากการทดลองพบว่า หนูที่ได้รับ NMN (สีน้ำเงินเข้ม) จะลดอาการหลีกเลี่ยงทางสังคมลง ขวา: ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมวัดจากระยะเวลาที่ใช้ไปในโซนปฏิสัมพันธ์เมื่อมีและไม่มีผู้รุกราน



การขาดความสุข 


เพื่อประเมินอาการไม่พึงพอใจ (anhedonia) ทีมนักวิจัยได้วัดความชอบของหนู ที่มีต่อซูโครส ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า น้ำตาลทราย หนูมักชอบอาหารหวานและจะเลือกน้ำที่มีน้ำตาลมากกว่าน้ำที่ไม่มีน้ำตาล จากการทดลองพบว่า หนูที่เผชิญกับความเครียดในรูปแบบต่างๆ จะไม่เลือกน้ำที่มีน้ำตาลมากกว่าน้ำ เหตุผลอาจเป็นเพราะ หนูที่เครียดจะไม่รู้สึกพึงพอใจกับรสหวานของน้ำตาลอีกต่อไป


ดังนั้น นักวิจัยจึงพบว่า CSDS ทำให้หนูชอบซูโครสน้อยลง ดังนั้นจึงพบสรุปได้ว่า การรักษาด้วย NMN แบบรับประทานสามารถป้องกันการสูญเสียความชอบนี้ 



ความสิ้นหวัง 


เพื่อประเมินความสิ้นหวังหรือการสูญเสียความหวัง นักวิจัยได้ใช้การทดสอบ ด้วยการแขวนหางหนู สำหรับการทดสอบนี้ หนูจะถูกจับแขวนหางไว้เหนือพื้นประมาณ 1.6 ฟุต ในสถานการณ์ประเภทนี้ หนูจะพยายามหลบหนีและเคลื่อนไหวเป็นระยะๆ แต่ในหนูที่มีภาวะซึมเศร้า หนูจะหยุดดิ้นรนและเคลื่อนไหวไม่ได้ดี การนิ่งเฉยสามารถตีความได้ว่า ยอมแพ้ในการหลบหนี ดังนั้น CSDS จึงเพิ่มระยะเวลาที่หนูนิ่งเฉย แต่ในการทดลองพบว่า การรักษาด้วย NMN ช่วยป้องกันไม่ให้การเพิ่มขึ้นนี้เกิดขึ้นได้





NMN ในช่วงต้นชีวิตสามารถป้องกันภาวะซึมเศร้าและภาวะสมองเสื่อมได้หรือไม่?


ภาวะซึมเศร้าในช่วงอายุน้อย (18-44 ปี) หรือวัยกลางคน (45-59 ปี) มักจะสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมที่เพิ่มขึ้นในภายหลัง (R) ดังนั้น การจำกัดภาวะซึมเศร้าตลอดช่วงชีวิต อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในวัยชราได้ แม้ว่าจะมีการศึกษาก่อนหน้านี้ ที่แสดงให้เห็นว่า NMN ช่วยลดพฤติกรรมคล้ายภาวะซึมเศร้าในหนู (R) แต่จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า NMN สามารถบรรเทาภาวะซึมเศร้าในมนุษย์ได้


จากการศึกษาก่อนหน้านี้ ยังแสดงให้เห็นว่า การบำบัดด้วย NAD+ สามารถบรรเทาอาการทางคลินิกของภาวะซึมเศร้าได้ในผู้ป่วย 93% จากทั้งหมด 205 คน (R) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า NMN สามารถส่งผลเช่นเดียวกันได้



ชีววิทยาใหม่ของภาวะซึมเศร้า 


ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาเชื่อกันว่า ภาวะซึมเศร้าเกิดจากการขาด สารเซโรโทนิน (Serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) (R) ซึ่งสมมติฐานนี้ อาจจะดูเหมือนว่า ระบบประสาทชีววิทยาของภาวะซึมเศร้าดูง่ายเกินไป แต่สมมติฐานใหม่เกี่ยวกับไมโตคอนเดรีย สรุปว่า ไมโตคอนเดรียที่ทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า โดยทั่วไป ไมโตคอนเดรียเป็นแหล่งผลิตพลังงานของเซลล์ที่เรียกว่า ATP และสมองก็เป็นส่วนที่ต้องการพลังงาน ATP มากกว่าอวัยวะอื่นๆ 


ในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ไมโตคอนเดรียทำงานผิดปกติและขาดโปรตีนสำคัญที่เรียกว่าคอมเพล็กซ์ไอ (Complex I) ในบริเวณต่างๆ ของสมอง เช่น คอร์เทกซ์ที่หน้าผาก ส่งผลให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ (ROS) ซึ่งทำให้เซลล์สมองบริเวณนั้นเสียหาย และยังพบด้วยว่า ไมโตคอนเดรียที่เสียหาย ยังผลิต ATP ได้ลดน้อยลงด้วย และอาจทำให้เกิดการตายของเซลล์สมองบริเวณนั้นได้ ซึ่งช่วยอธิบายได้ว่า ทำไมคอร์เทกซ์ที่หน้าผาก จึงเสื่อมลงในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 

สมมติฐานไมโตคอนเดรียเกี่ยวกับวัยชรา
สมมติฐานไมโตคอนเดรียเกี่ยวกับวัยชรา

Larrea et al., 2024 - สมมติฐานไมโตคอนเดรียเกี่ยวกับวัยชรา ไมโตคอนเดรีย ที่ทำงานผิดปกติในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะผลิตอนุมูลอิสระ (ROS) ที่ทำลายเซลล์และขัดขวางการทำงานตามปกติของสมอง 


สรุป:


NAD+ ช่วยในการผลิตพลังงาน ATP โดยทำปฏิกริยาโดยตรงกับ คอมเพล็กซ์ I ในไมโตคอนเดรีย ดังนั้น การเพิ่มระดับ NAD+ จะทำให้ไมโตคอนเดรีย ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและผลิต ATP ได้มากขึ้น

จากการที่ ROS ส่วนใหญ่ที่ถูกผลิตขึ้นมาโดยคอมเพล็กซ์ I นั้น การเพิ่ม NAD+ จะช่วยลดระดับ ROS ได้เช่นกัน ด้วยวิธีนี้ การเพิ่ม NAD+ ด้วย NMN จะช่วยบรรเทาความผิดปกติของไมโตคอนเดรียได้ ขณะเดียวกันก็ยับยั้งความเสียหายและการตายของเซลล์ประสาทในบริเวณของสมอง เช่น คอร์เทกซ์ส่วนหน้า ซึ่งจะส่งผลให้การควบคุมอารมณ์และความเครียดดีขึ้น และความคิดซึมเศร้าลดลง 





อ้างอิง


Deng, J., Tong, X., Huang, Y., Du, Z., Sun, R., Zheng, Y., Ma, R., Ding, W., Zhang, Y., Li, J., Sun, Y., Chen, C., Zhang, J., Song, L., Liu, B., & Lin, S. (2024). Prophylactic nicotinamide mononucleotide (NMN) mitigates CSDS-induced depressive-like behaviors in mice via preserving of ATP level in the mPFC. Biomedicine & Pharmacotherapy, 176, 116850. https://doi.org/10.1016/j.biopha.2024.116850






Comments


สินค้าขายดี

LOGO-DR.BUNLUE-WHITE-01_0.png

สมาชิกกลุ่ม "ย้อนวัยไปกับ dr.bunlue"

สำนักงาน

สำนักงาน dr.bunlue

88/4 ม.4 ต.คลองสอง

อ.คลองหลวง ปทุมธานี 12120

Tel: 082-777-4461

ห้องแลบและฝึกอบรม

9/69 ม.5 ต.คลองหนึ่ง

อ.คลองหลวง ปทุมธานี 12120

Tel: 082-777-4461

© 2023 by dr.bunlue Team -

bottom of page