top of page

Metformin ยับยั้งผลการออกกำลังกายแบบต้านทาน (Resistance excercise)


Metformin ยับยั้งผลการออกกำลังกายแบบต้านทาน
Metformin ยับยั้งผลการออกกำลังกายแบบต้านทาน

ดร.เดวิด ซินแคลร์ นักวิจัยด้านพันธุศาสตร์และมีชื่อเสียงด้านงานวิจัยทางชะลอวัย จะกิน metformin เป็นประจำทุกวัน เพื่อช่วยเรื่องชะลอวัย ยกเว้นในวันก่อนที่จะมีการออกกำลังกาย และบทความนี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เขาทำเช่นนั้น


พออายุย่างเข้า 40 ปี กล้ามเนื้อของเราจะเริ่มหดตัวและอ่อนแอลง ในแต่ละปีขนาดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของเราจะลดลงอย่างรวดเร็วและมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุด ในการป้องกันการลดลงของกล้ามเนื้อคือ การออกกําลังกายแบบต้านทาน (Resistance excercise) เช่น การยกน้ําหนัก แต่วิธีนี้ใช้ได้กับผู้สูงอายุไม่ทุกคน ได้ผลแค่ 60-75% เท่านั้น


จากการศึกษา มีบางงานวิจัย ที่แสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุ จะสูญเสียกล้ามเนื้อและความแข็งแรงในการตอบสนองต่อการออกกําลังกายแบบต้านทาน ในขณะที่ ผู้สูงอายุบางส่วนกลับตอบสนองได้ดีกว่าคนอื่น ในการออกกำลังกายแบบต้านทาน เรื่องนี้ยังไม่ชัดเจน


ดร.ลองและทีมงานจาก University of Kentucky ใน Lexington พบว่า ผู้สูงอายุที่มีไขมันในกล้ามเนื้อสูง จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการออกกําลังกายแบบต้านทาน (*) ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน GeroScience ยังพบว่า ยารักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 - metformin - ไม่ตอบสนองต่อผลที่กล่าวมานี้ ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าจะทานเมตฟอร์มินหรือไม่ก็ตาม ผู้สูงอายุกลุ่มที่มีไขมันในกล้ามเนื้อต่ํา จะตอบสนองต่อการออกกําลังกายแบบต้านทานน้อยที่สุด



ไขมันในกล้ามเนื้อที่ต่ำจะสัมพันธ์กับสมรรถภาพทางกายภาพที่เพิ่มขึ้น


ไม่เพียงแค่กล้ามเนื้อ จะลดลงตามอายุ แต่ไขมันยังสะสมอยู่ภายในและโดยรอบด้วย (คล้ายไขมันที่แทรกในเนื้อวากิว) ไขมันในกล้ามเนื้อ พวกนี้ มีผลกระทบอย่างมาก ซึ่งจะเปลี่ยนความแข็งแรง, ความสมดุลและความเร็วในการเดิน ดร. ลองและเพื่อนร่วมงาน เป็นกลุ่มแรก ที่ได้ศึกษาผลของไขมันในกล้ามเนื้อในการตอบสนอง ต่อการออกกําลังกายแบบต้านทานในผู้สูงอายุ 


ทีมงานวิจัยได้ทำการถ่ายภาพผู้เข้าร่วมการทดลอง "ก่อน" (เพื่อเป็นบันทัดฐานในการเปรียบเทียบ) ซึ่งกลุ่มนี้เป็นผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีสมรรถภาพร่างกายสูง และยังได้ทำการตรวจวัดค่าไขมันในกล้ามเนื้อและสมรรถภาพร่างกาย และหลังจากที่ได้ออกกำลังกายแบบต้านทานทุกครั้ง ก็จะมีการตรวจวัดค่าแบบเดิมซ้ำอีก



ภาพตัดขวางของกล้ามเนื้อต้นขาก่อน (ซ้าย) และหลัง (ขวา) การออกกำลังกายแบบต้านทานของแต่ละคน
ภาพตัดขวางของกล้ามเนื้อต้นขาก่อน (ซ้าย) และหลัง (ขวา) การออกกำลังกายแบบต้านทานของแต่ละคน

ตัวอย่างภาพตัดขวางของกล้ามเนื้อต้นขาก่อน (ซ้าย) และหลัง (ขวา) การออกกำลังกายแบบต้านทานของแต่ละคน ภาพตัดขวางบริเวณช่วงกลางของต้นขา จะเห็นส่วนกล้ามเนื้อ (สีดำ) และส่วนไขมัน (สีขาว) กระดูกจะเห็นเป็นวงสีขาวด้านใน ซึ่งจะไม่นำมาวิเคราะห์ ไขมันที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนัง (ส่วนวงกลมสีขาวที่แยกออกมาจากแนวเส้นจุด ตามภาพด้านซ้าย) ก็จะแยกวิเคราะห์ออกจากไขมันในกล้ามเนื้อ


ขนาดกล้ามเนื้อ (Thigh muscle area: พื้นที่กล้ามเนื้อต้นขา) และความหนาแน่นของกล้ามเนื้อต้นชา (Thigh muscle density: TMD) เพิ่มมากขึ้น (แสดงให้เห็นว่า ไขมันในกล้ามเนื้อลดน้อยลง) ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อการออกกำลังกายแบบต้านทาน และไขมันนอกกล้ามเนื้อ (IMAT: Intermuscular adipose tissue) ลดน้อยลงด้วย ซึ่งก็เป็นการตอบสนองต่อการออกกำลังกายแบบต้านทานด้วย


โดยรวมแล้วจะเห็นว่า ขนาดกล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้น และทั้งไขมันและนอกกล้ามเนื้อจะลดน้อยลง เป็นการตอบสนองต่อการออกกำลังกายแบบต้านทานในผู้สูงอายุแต่ละคน ค่า TMD เป็นหน่วย Hounsfield units (HU) เป็นการวัดความหนาแน่นที่ใช้ภาพเอ็กเรย์ ซึ่งสะท้อนถึงความหนาแน่นของเนื้อเยื่อ


 

ดร.ลองและทีมงานได้ประเมินสมรรถภาพทางกายภาพ ด้วยการวัดค่าต่างๆ รวมถึง การทรงตัว และความเร็วในการเดิน และยังประเมินความแข็งแรงและพลัง (ความแข็งแรงคูณด้วยความเร็ว) ของผู้เข้าร่วมทดลองแต่ละคน ด้วยการให้ลุกนั่งบนเก้าอี้ซ้ําหลายครั้ง รวมถึงการยกน้ําหนัก ผู้เข้าร่วมยังถูกขอให้ประเมินการทํางานของร่างกายทางกายภาพและประสิทธิภาพของตนเอง 


จากการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างไขมันในกล้ามเนื้อกับสมรรถภาพทางร่างกาย ดร.ลอง และเพื่อนร่วมงานพบว่า ผู้สูงอายุที่มีไขมันในกล้ามเนื้อต่ํา มีความแข็งแรงและพลังเพิ่มขึ้น สําหรับผู้สูงอายุ เรื่องนี้มีความสําคัญ เนื่องจากความแข็งแรงและพลังเป็นสิ่งสําคัญในการใช้ชีวิตประจําวัน ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพชีวิตดึขึ้น



ผู้สูงอายุที่มีไขมันในกล้ามเนื้อสูงจะได้ประโยชน์จากการออกกำลังกายแบบต้านทาน


มีหลายเหตุผลที่ทำไมคนสูงอายุบางคนไม่ตอบสนองต่อการออกกำลังกายแบบต้านทาน ดร.ลองและคณะ คิดว่า ระดับไขมันนอกกล้ามเนื้อที่มีมากน่าจะเป็นหนึ่งในเหตุผลนั้น อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ ผู้เข้าร่วมทดลอง ได้ทําการออกกําลังกายแบบต้านทานเป็นเวลา 14 สัปดาห์ นักวิจัยพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างไขมันนอกกล้ามเนื้อกับขนาดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น


เหตุผลเพราะว่า ไขมันนอกกล้ามเนื้อจะไม่มีผลต่อการตอบสนองของการออกกำลังกายแบบต้านทาน ดร.ลอง จึงให้ความสนใจกับผู้เข้าร่วมทดลองที่มีไขมันในกล้ามเนื้อมากกว่า และพบว่า ผู้สูงอายุที่มีไขมันในกล้ามเนื้อสูง จะมีพัฒนาการทางกายภาพดีขึ้นอย่างชัดเจน ต่อการออกกำลังกายแบบต้านทาน ซึ่งบ่งบอกว่า ไขมันในกล้ามเนื้อมีความสำคัญมากกว่าไขมันนอกกล้ามเนื้อ ในแง่การตอบสนองต่อการออกกำลังกายแบบต้านทาน



Metformin ลดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น ในการตอบสนองต่อ การออกกำลังกายแบบต้านทาน


เนื่องจากว่า โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 มีผลต่อผู้สูงอายุประมาณ 25% และ metformin เป็นยาที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดกับผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มนี้ ดร.ลองและเพื่อนร่วมงาน ได้ทดสอบผลของ metformin ที่ตอบสนองต่อการออกกำลังกายแบบต้านทาน ในกลุ่มผู้เข้าร่วมทดลองครึ่งหนึ่ง พวกเขาพบว่า ยาเมตฟอร์มิน จะลดความแข็งแรง ที่เพิ่มขึ้นในผู้สูงอายุที่มีไขมันในกล้ามเนื้อสูง 


อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผู้เข้าร่วมในการทดลองนี้ เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดี ไม่มีโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นอกจากนี้ หลักฐานยังหลากหลายมากที่บอกว่า metformin มีผลต่อด้านต่างๆ ของสมรรถภาพทางกายภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังนั้นจึงจําเป็น ต้องมีการศึกษาเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของไขมันในกล้ามเนื้อ ที่ตอบสนองต่อการออกกำลังกายแบบต้านทานในผู้ป่วยโรคเบาหวาน



Metformin จะลดความแข็งแรงในผู้สูงอายุที่มีไขมันในกล้ามเนื้อสูง
Metformin จะลดความแข็งแรงในผู้สูงอายุที่มีไขมันในกล้ามเนื้อสูง

เมตฟอร์มิน จะลดความแข็งแรงในผู้สูงอายุที่มีไขมันในกล้ามเนื้อสูง ความแข็งแรง (MVIC [maximal voluntary isotonic contraction] /% การเปลี่ยนแปลงของมวลขาข้างขวา) ของผู้สูงอายุที่มีไขมันในกล้ามเนื้อสูง เพิ่มขึ้นมากกว่า 10% ที่ตอบสนองต่อการออกกำลังกายแบบต้านทานถ้าพวกเขาไม่ได้ใช้เมตฟอร์มิน (ยาหลอก) ผู้สูงอายุที่ใช้เมตฟอร์มินมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นเกือบ 1%

 



องค์ประกอบของกล้ามเนื้อสําคัญกว่าขนาดกล้ามเนื้อ 


ดร. ลองและเพื่อนร่วมงาน ได้คาดการณ์ว่า ขนาดกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น จะเพิ่มสมรรถภาพทางกายภาพได้ แต่ก็ไม่เป็นตามนั้น ดังนั้น ทีมงานจึงเก็บตัวอย่างกล้ามเนื้อจากผู้เข้าร่วม เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบของกล้ามเนื้อก่อนและหลังการออกกำลังกายแบบต้านทาน 


ทีมวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นนั้น จะสัมพันธ์กับขนาดที่ใหญ่ขึ้นของเซลล์กล้ามเนื้อหดตัวเร็วชนิดที่ 2 (ที่มีไขมันน้อยกว่า) และทนกว่าเซลล์หดตัวช้าชนิดที่ 1 การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่า องค์ประกอบของกล้ามเนื้อ (เซลล์กล้ามเนื้อชนิดที่ 2 ที่เพิ่มขึ้น) อาจจะมีความสําคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพมากกว่าขนาดกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ เป็นการสนับสนุนว่า metformin ซึ่งลดการเพิ่มประสิทธิภาพแล้ว ยังลดการเพิ่มขึ้นของเซลล์กล้ามเนื้อชนิดที่ 2



มีข้อจํากัด เกี่ยวกับศักยภาพในการแสดงของเราในวัยชราหรือไม่? 


โดยรวมแล้ว ดร.ลองและทีมงาน แสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุที่มีไขมันในกล้ามเนื้อต่ำ จะตอบสนองต่อการออกกําลังกายแบบต้านทานน้อยที่สุด เนื่องจากไขมันในกล้ามเนื้อที่ลดลงมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของกล้ามเนื้อ ผู้สูงอายุที่ไม่ตอบสนองต่อการออกกำลังกายแบบต้านทาน จะมีศักยภาพในการปรับโครงสร้างกล้ามเนื้อน้อยลง


สิ่งที่กําหนดศักยภาพในการปรับโครงสร้างกล้ามเนื้อ ยังคงเป็นคําถามที่น่าสนใจ แต่อาจจะมีผลจากการออกกําลังกายก่อนหน้านี้ ที่ผู้เข้าร่วมการทดลองนี้ ไม่ได้ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอมาก่อนเป็นเวลาหนึ่งปี การออกกําลังกายในปีที่ผ่านมาอาจมีผลต่อองค์ประกอบชนิดของเซลล์กล้ามเนื้อได้


นี่ไม่ใช่การศึกษาเดียว ที่แสดงให้เห็นว่า เมตฟอร์มินอาจจะให้ผลไม่ดีต่อการออกกําลังกาย การศึกษาที่เกี่ยวข้องโดยใช้ข้อมูลทางคลินิกของ MASTERS (*) เน้นย้ําว่า metformin ส่งผลเสียในการตอบสนองของการเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อ ต่อการออกกำลังกายแบบต้านทานในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี


มีการศึกษาทางคลินิกอื่น (*) ที่แสดงให้เห็นว่า metformin ยับยั้งการปรับตัวของไมโตคอนเดรีย ในการออกกําลังกายแบบแอโรบิคในผู้สูงอายุ ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ก่อนที่จะกินยา metformin เพื่อชะลอความชรา เราจําเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อทําความเข้าใจว่า metformin กระตุ้นการตอบสนองเชิงบวกและเชิงลบ ต่อการออกกําลังกายอย่างไร



--------------------


Source


  • Long DE, Peck BD, Tuggle SC, Villasante Tezanos AG, Windham ST, Bamman MM, Kern PA, Peterson CA, Walton RG. Associations of muscle lipid content with physical function and resistance training outcomes in older adults: altered responses with metformin. Geroscience. 2021 Apr;43(2):629-644. DOI: 10.1007/s11357-020-00315-9. Epub 2021 Jan 18. PMID: 33462708; PMCID: PMC8110673.

  • Long DE, Peck BD, Martz JL, Tuggle SC, Bush HM, McGwin G, Kern PA, Bamman MM, Peterson CA. Metformin to Augment Strength Training Effective Response in Seniors (MASTERS): study protocol for a randomized controlled trial. Trials. 2017 Apr 26;18(1):192. DOI: 10.1186/s13063-017-1932-5. PMID: 28441958; PMCID: PMC5405504.

  • Straight CR, Toth MJ, Miller MS. Current perspectives on obesity and skeletal muscle contractile function in older adults. J Appl Physiol (1985). 2021 Jan 1;130(1):10-16. DOI: 10.1152/japplphysiol.00739.2020. Epub 2020 Nov 19. PMID: 33211593; PMCID: PMC7944932.

  • Izzo A, Massimino E, Riccardi G, Della Pepa G. A Narrative Review on Sarcopenia in Type 2 Diabetes Mellitus: Prevalence and Associated Factors. Nutrients. 2021 Jan 9;13(1):183. DOI: 10.3390/nu13010183. PMID: 33435310; PMCID: PMC7826709.

  • Massimino E, Izzo A, Riccardi G, Della Pepa G. The Impact of Glucose-Lowering Drugs on Sarcopenia in Type 2 Diabetes: Current Evidence and Underlying Mechanisms. Cells. 2021 Aug 1;10(8):1958. DOI: 10.3390/cells10081958. PMID: 34440727; PMCID: PMC8393336.




#drbunlue #NMP #NMN #NAD #ChapaGroupAndMadePhuwiang #ย้อนวัยไปกับ_drbunlue #antiaging #ชะลอวัย #สุขภาพดี #tiktokสุขภาพ #ลืมป่วย #healthy #healthycare #healthyfood #ดูแลสุขภาพ #มณีแดง #RedGem #ResistanceExcercise #Metformin #เบาหวาน


Comments


สินค้าขายดี

bottom of page