ความหวังใหม่: สารตั้งต้น NAD+ ช่วยป้องกันการสูญเสียการมองเห็นในโรคต้อหิน (Glaucoma)
- dr.bunlue
- May 4
- 2 min read

นักวิจัยชาวอิตาลีอธิบายถึงความเปราะบางของโครงสร้างภายในดวงตาที่ส่งผลให้ระดับ NAD+ ลดลง และก่อให้เกิดโรคตา ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยสารตั้งต้น NAD+
ประเด็นสำคัญ
การทดลองพรีคลินิกในหนูชี้ว่า โรคต้อหิน (Glaucoma) ซึ่งเกิดจากความเสียหายของเส้นประสาทส่งสัญญาณภาพไปยังสมอง เริ่มต้นจากการเสื่อมสภาพของแอกซอน (Axon) ในเซลล์ปมประสาทจอตา (retinal ganglion cells [RGC]) ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลภาพการมองเห็นไปยังสมอง
การเสื่อมของแอกซอน RGC เกิดจากระดับ NAD+ ลดต่ำลง เนื่องจากระบบขนส่งสารอาหารภายในแอกซอนถูกจำกัด
การทดลองทางคลินิกในมนุษย์ระยะแรกพบว่า การเสริมสารตั้งต้น NAD+ เช่น NAM ช่วยฟื้นฟู RGCs และอาจพัฒนาการมองเห็นเมื่อใช้ร่วมกับการรักษามาตรฐานอื่นๆ
คาดการณ์ว่าภายในทศวรรษหน้าจำนวนผู้ป่วยต้อหินทั่วโลกจะพุ่งสูงถึงเกือบ 11 ล้านคน โดย 9-12% มีความเสี่ยงตาบอดสนิท ความพยายามผ่าตัดลดความดันลูกตาสูง ยังไม่สามารถยับยั้งการสูญเสียการมองเห็นได้ ดังนั้นการค้นหาวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องเร่งด่วน
ศาสตราจารย์อัลเบอร์โต ชิอาลูจี (Alberto Chiarugi) ศาสตราจารย์ด้านเภสัชวิทยาคลินิกและมะเร็งวิทยาจากมหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ เผยแพร่งานวิจัยใน Trends in Pharmacological Sciences โดยชี้ว่าโรคต้อหิน เริ่มต้นที่การเสื่อมของแอกซอน RGCs บริเวณใกล้จอตา (Retina: เนื้อเยื่อรับแสงด้านหลังลูกตา) ซึ่งทำหน้าที่ส่งสัญญาณภาพ เขาอธิบายว่าลามินา คริบโรซา (lamina cribrosa: โครงสร้างตาข่ายรองรับลูกตา) กีดขวางการไหลเวียนของสารอาหารและเอนไซม์ที่ใช้สังเคราะห์ NAD+ ส่งผลให้ระดับ NAD+ ในแอกซอนลดลงตามอายุ การศึกษานี้บ่งชี้ว่า สารเสริม NAD+ อย่าง NAM อาจจะช่วยชะลอหรือฟื้นฟูการมองเห็นในผู้ป่วยต้อหิน
ช่องเล็กๆ ด้านหลังดวงตากีดขวางการไหลเวียนสารอาหารสู่แอกซอน RGC
งานวิจัยในหนูแสดงให้เห็นว่า การเสื่อมของแอกซอน RGCs เป็นปัจจัยหลักของต้อหิน ซึ่งขัดกับทฤษฎีเดิมที่ว่า ความดันลูกตาสูงเป็นสาเหตุหลัก
ลามินา คริบโรซา ซึ่งเป็นช่องแคบด้านหลังลูกตาทำให้แอกซอนโค้งงอและขัดขวางการขนส่งสารอาหาร ไมโทคอนเดรีย และเอนไซม์ NMNAT2 ที่จำเป็นต่อการผลิต NAD+ ส่งผลให้แอกซอนขาดพลังงาน (ที่ต้องใช้ NAD+ ในการผลิต) และเสื่อมสภาพในที่สุด
ลามินา คริบโรซา จำกัดเอนไซม์สังเคราะห์ NAD+ และการเคลื่อนที่ของไมโตคอนเดรียไปยังแอกซอน RGC ลามินา คริบโรซา ซึ่งอยู่ด้านหลังของดวงตาสามารถขัดขวางเอนไซม์ที่ใช้สังเคราะห์ NAD+ และการเคลื่อนที่ของไมโตคอนเดรียภายในแอกซอน RGC ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณเพื่อการมองเห็น
แอกซอนของ RGC จะไม่มีสารไขมันที่เรียกว่า ไมอีลิน (Myelin) พันอยู่รอบ ๆ ซึ่งช่วยเร่งการแพร่กระจายสัญญาณ ด้วยเหตุนี้ แอกซอนจึงต้องการพลังงานมากกว่าในการส่งสัญญาณ เมื่อเทียบกับแอกซอน ที่มีไมอีลินพันรอบ ซึ่งต้องการพลังงานน้อยกว่าในการส่งสัญญาณ
แอกซอนเหล่านี้ต้องการ NAD+ จำนวนมาก ซึ่งใช้ในการสร้างพลังงานของเซลล์ เพื่อผลิตพลังงานให้กับเส้นประสาทตา เมื่อลามินา คริบโบรซา บีบและจำกัดการขนส่งสารอาหาร ไมโตคอนเดรีย และเอนไซม์สังเคราะห์ NAD+ ที่จำเป็น (NMNAT2) เพื่อการสร้างพลังงาน จากสภาวะดังกล่าว ทำให้เกิดการขาดพลังงานของแอกซอน NAD+ และ RGC และสุดท้ายทำให้เกิดการเสื่อมของแอกซอนตามมา
ลามินา คริบโรซา จำกัดการไหลของสารอาหารไปยังแอกซอน RGC ข้อจำกัดทางกลไก (การบีบ) จากลามินา คริบโรซา จำกัดการผ่านของไมโตคอนเดรีย (โครงสร้างสีเขียว) พร้อมกับเอนไซม์สังเคราะห์ NAD+ (NMNAT2) ไปยังบริเวณแอกซอนที่อยู่ห่างจากตัวเซลล์มากขึ้น ซึ่งส่งสัญญาณไปยังเส้นประสาทตา
ความหวังต่อการมองเห็นจากสารตั้งต้น NAD+
การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ในมนุษย์, การเสริม NAM (1.0-3.0 กรัม/วัน) ร่วมกับไพรูเวต (1.5-3.0 กรัม/วัน) เป็นเวลา 3 สัปดาห์ช่วยพัฒนาการมองเห็นได้ นอกจากนี้ การบริโภคไนอาซิน (NAD+ อีกชนิด) ประมาณ 28 มก./วัน ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดต้อหินได้อย่างมีนัยสำคัญ
ปัจจุบันมีการศึกษาต่อเนื่องเกี่ยวกับสารตั้งต้น NAD+ ชนิดอื่น เช่น NR (300 มก./วัน นาน 24 เดือน) และ NAM ขนาด 2 กรัม/วัน เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการชะลอโรค
อนาคตของการรักษาต้อหิน (Glaucoma) ด้วย NAD+
งานวิจัยของชิอาลูจี เสนอแนวคิดใหม่ว่า สาเหตุหลักของต้อหินไม่ใช่ความดันตาสูง แต่คือการขาด NAD+ ในแอกซอน RGCs การเสริมสารตั้งต้น NAD+ อาจเป็นทางเลือกรักษาที่มีศักยภาพเพื่อปกป้องการมองเห็นของผู้ป่วยในระยะยาว
อ้างอิง
Chiarugi A. Glaucoma: neuroprotection with NAD-based therapeutic interventions. Trends Pharmacol Sci. 2023 Oct 23:S0165-6147(23)00212-2. doi: 10.1016/j.tips.2023.09.010. Epub ahead of print. PMID: 37880000. (R)
De Moraes CG, John SWM, Williams PA, Blumberg DM, Cioffi GA, Liebmann JM. Nicotinamide and Pyruvate for Neuroenhancement in Open-Angle Glaucoma: A Phase 2 Randomized Clinical Trial. JAMA Ophthalmol. 2022 Jan 1;140(1):11-18. doi: 10.1001/jamaophthalmol.2021.4576. PMID: 34792559; PMCID: PMC8603231. (R)
Howell GR, Libby RT, Jakobs TC, Smith RS, Phalan FC, Barter JW, Barbay JM, Marchant JK, Mahesh N, Porciatti V, Whitmore AV, Masland RH, John SW. Axons of retinal ganglion cells are insulted in the optic nerve early in DBA/2J glaucoma. J Cell Biol. 2007 Dec 31;179(7):1523-37. doi: 10.1083/jcb.200706181. Epub 2007 Dec 24. PMID: 18158332; PMCID: PMC2373494. (R)
Howell GR, Soto I, Libby RT, John SW. Intrinsic axonal degeneration pathways are critical for glaucomatous damage. Exp Neurol. 2013 Aug;246:54-61. doi: 10.1016/j.expneurol.2012.01.014. Epub 2012 Jan 18. PMID: 22285251; PMCID: PMC3831512. (R)
Hui F, Tang J, Williams PA, McGuinness MB, Hadoux X, Casson RJ, Coote M, Trounce IA, Martin KR, van Wijngaarden P, Crowston JG. Improvement in inner retinal function in glaucoma with nicotinamide (vitamin B3) supplementation: A crossover randomized clinical trial. Clin Exp Ophthalmol. 2020 Sep;48(7):903-914. doi: 10.1111/ceo.13818. Epub 2020 Jul 28. PMID: 32721104. (R)
Leung CKS, Ren ST, Chan PPM, Wan KHN, Kam AKW, Lai GWK, Chiu VSM, Ko MWL, Yiu CKF, Yu MCY. Nicotinamide riboside as a neuroprotective therapy for glaucoma: study protocol for a randomized, double-blind, placebo-control trial. Trials. 2022 Jan 17;23(1):45. doi: 10.1186/s13063-021-05968-1. Erratum in: Trials. 2022 Feb 10;23(1):134. PMID: 35039056; PMCID: PMC8762963. (R)
Taechameekietichai T, Chansangpetch S, Peerawaranun P, Lin SC. Association between Daily Niacin Intake and Glaucoma: National Health and Nutrition Examination Survey. Nutrients. 2021 Nov 26;13(12):4263. doi: 10.3390/nu13124263. PMID: 34959814; PMCID: PMC8709149. (R)
Comments